วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Journal week12


Customer Relationship Management
เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ จะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้นโดยนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้

เป้าหมายของ CRM
เพื่อบริการลูกค้า และเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
ประโยชน์ของ CRM
1.มีข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Profile, Behavior
2. สามารถวางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. สามารถเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
Software บริหาร CRM
1.       ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
- ขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce)
- ระบบงานสนามด้านการขาย เช่น Wireless  ตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ
2.       ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบโทรศัพท์ตอบ ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.       ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการ ด้านเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Knowledge Management System (KMS)
KMS เป็นการจัดการความรู้ โดยรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในคนในองค์กร เอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ  ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและพัฒนาตนเอง 
การสร้าง KM
                    ต้องสร้าง knowledge Base ขององค์กรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่
                    ต้องสร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง
เป้าหมายการจัดการความรู้
                    เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                    เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่ง
                    นำความรู้มาแก้ปัญหาได้
การสร้างความรู้
                    Socialization เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ของตนเอง เป็นความสามารถที่มีอยู่ในตนเอง นอกจากนี้องค์กรสามารถสร้างความรู้เพิ่มเติมได้จากภายนอกองค์กร เช่นการติดต่อกับลูกค้า หรือ supplier
                    Externalization การเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก (tacit knowledge) ให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) โดยการให้คนในองค์กรนั้นต้องมาแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน
                    Combination เอา ข้อมูลจากส่วนต่างๆภายในองค์กรรวมทั้งภายนอกองค์กร เป็นเสมือนการหาข้อมูลเพิ่มเติมไปในฐานข้อมูล แล้วนำไปจัดหมวดหมู่เพื่อไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเหมือนเป็นการเปลี่ยนข้อมูล explicit เป็น explicit อีกที
                    Internalization การเอาความรู้ explicit มาเป็นความรู้ของผู้ใช้

กระบวนการจัดการความรู้
                    การระบุความรู้
                    การจัดหาความรู้
                    การพัฒนาความรู้
                    การแบ่งปันความรู้
                    ใช้ความรู้
                    เก็บความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น